วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552






นายกฯชวนคนไทยร่วมกิจกรรม 9 ในดวงใจ 9 ก.ย.นี้6/9/2552นายกรัฐมนตรี เชิญชวนคนไทยร่วมกิจกรรม 9 ในดวงใจ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 9 เดือน 9 ปี 09 เวลา 9.09 นาทีในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์วันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สวมเสื้อยืดคอปก ปักหน้าอก 9 ในดวงใจ เพื่อรณรงค์ในโครงการนี้ โดยขอให้ประชาชนและทุกหน่วยงานร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีในวันพุธที่ 9 กันยายนนี้ เวลา 9 นาฬิกา 9 นาที ซึ่งถือเป็นเลขมงคล 9/09/09/ 9.09 น.ที่มาhttp://www.krobkruakao.com/kkn/?a=news&s=detail&news_id=8177เขียน โดย หนึ่งฤทัย มโหธร 1 ความคิดเห็น
ปฏิทินวิชาการโรงเรียนเมืองเชลียง เดือน กุมภาพันธ์-...
ปฏิทินวิชาการโรงเรียนเมืองเชลียง เดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม 255214-15 กุมภาพันธ์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าค่ายคณิตศาสตร์ จำนวน 150 คน 16 กุมภาพันธ์ เวลา 13.00-15.40 น. กิจกรรมอำลาพี่มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 255120 กุมภาพันธ์ วันสุดท้ายของการส่งข้อสอบปลายภาคเรียน21-22 กุมภาพันธ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบ o-net ที่ ร.ร.สวรรค์อนันต์วิทยา26 กุมภาพันธ์ สอบประเมินคุณภาพนักเรียน ม.2 เวลา 08.30-12.00 น.2-5 กุมภาพันธ์ สอบปลายภาคเรียนทุกระดับชั้น7-8 กุมภาพันธ์ สอบ GAT/PAT ณ โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม11 มีนาคม วันสุดท้ายของการส่งผลการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 14-18 มีนาคม รับสมัคร ม.1 และ ม.4 ประจำปีการศึกษา 2552 21 มีนาคม สอบคัดเลือกมัธยมศึกษาปีที่ 122 มีนาคม สอบคัดเลือกมัธยมศึกษาปีที่ 423 มีนาคม ประกาศผลภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 255123-27 มีนาคม ปรับปรุงผลการเรียนทุกระดับชั้น แก้ 0 ร มส ขส24 มีนาคม ประกาศผลและรายงานตัวมัธยมศึกษาปีที่ 1 25 มีนาคม ประกาศผลและรายงานตัวมัธยมศึกษาปีที่ 429 มีนาคม รายงาน ม.4 31 มีนาคม ปัจฉิมนิเทศ มอบ ปพ.1 และใบประกาศ ม.3 และ ม.64 เมษายน มอบตัว ม.15 เมษายน มอบตัว ม.411-14 พฤษภาคม จำหนายสมุด-แบบเรียน-อุปกรณ์การเรียน และครูปฏิบัติหน้าที่วันแรก13 พฤษภาคม ปรับสภาพนักเรียนใหม่15 พฤษภาคม นักเรียนทุกระดับชั้นพบครูที่ปรึกษา รับตารางสอนภาคเรียนที่ 1/2552 18 พฤษภาคม เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552ที่มาhttp://school.obec.go.th/mclschool/เขียนโดย หนึ่งฤทัย มโหธร0 ความคิดเห็น ไฮโดรโปนิกส์ไฮโดรโปนิกส์กว่า 150 ปีมาแล้ว ที่มนุษย์เรารู้จักการปลูกพืชแบบไม่อาศัยดินโดยในเริ่มแรกนั้น มีจุดประสงค์เพียงเพื่อต้องการศึกษาว่า แร่ธาตุชนิดใดบ้าง ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จนเมื่อปี ค.ศ.1925 ประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ต่างเริ่มหาทางเลือกใหม่สำหรับการปลูกพืชในโรงเรือน เพราะการเพาะปลูกแบบอาศัยดินนั้น สร้างปัญหาให้มากกมาย นอกจากนี้ในวงการวิจัยเองก็มีการตื่นตัวทำการทดลองเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเพื่อเป็นการค้าขึ้น มากระทั่งปี ค.ศ.1930 คำว่า "ไฮโดรโปนิกส์" เริ่มเป็นที่รู้จักขึ้นโดย ดร.เจอร์ริค แห่งมหาวิทยาลัยมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ได้ทำการทดลองปลูกพืชโดยใช้เทคนิควิธีการปลูกพืชในน้ำสารละลายอาหารเป็นผลสำเร็จ และนับจากนั้น การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชแบบไม่ใช้วัสดุปลูก (nonsubstrate หรือ water cuture) ซึ่งเป็นลักษณะของการปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากสัมผัสกับสารอาหารโดยตรงนั่นเองโดยสามารถแบ่งวิธีการปลูกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)NFT (Nutrient Film Technique) เป็นวิธีการให้สารละลายธาตุอาหาร มีการไหลหมุนเวียน โดยรากพืชจะได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ ด้วยหลักการทำงานง่ายๆ คือ ให้สารอาหารไหลผ่านรากพืช เป็นลักษณะสายน้ำบางๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับรากพืชโดยตรง ระบบน้ำจะหมุนเวียนกลับมาใช้งานได้ต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมในประเทศไทยในขณะนี้ DRF (Dynamic Root Floating Technique) เป็นระบบการให้สารอาหารแก่รากพืชโดยตรง นอกจากนี้ ยังมีการเติมอากาศด้วยการใช้ปั๊มลม ช่วยในการให้ออกซิเจน โดยรากพืชจะจุ่มอยู่ในสารอาหารโดยตรงและสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า "การปลูกพืชแบบลอยน้ำ" วิธีนี้เป็นที่นิยมเพราะใช้พื้นที่เล็ก ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถใช้เวลาว่างปลูกเป็นงานอดิเรกDFT (Deep Flow Technique) เป็นระบบปลูกที่ให้สารละลายธาตุอาหาร ไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่องและหมุนเวียน เหมือนการปลูกพืชแช่น้ำ ซึ่งระดับน้ำจะไม่สูงนักราว 5-10 ซม. โดยน้ำจะไหลผ่านรากพืชอย่างช้าๆ สม่ำเสมอข้อดีของระบบไฮโดรโปนิกส์1.สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้สูงขึ้นกว่าแบบเก่า 50-100% และยังสามารถออกแบบให้ประหยัดพื้นที่การปลูกได้ด้วย2.ดูแลได้ทั่วถึง เนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายต่อการควบคุมและป้องกันโรคและแมลง ไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง 100% และไม่มีปัญหาในการกำจัดวัชพืชในพื้นที่ปลูก ประหยัดน้ำและปุ๋ย เพราะสามารถควบคุมได้ตามที่พืชต้องการ ไม้ต้องไถพรวน3.สามารถลดการทำลายหรือชะล้างหน้าดิน มีผลผลิตสม่ำเสมอ และอายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น เนื่องจากพืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างสม่ำเสมอ ผลผลิตที่ได้มีความสะอาด สด คุณภาพดี และที่สำคัญคือ ปลอดสารพิษ สามารถพัฒนาการปลูกไปในเชิงพาณิชย์ได้ข้อเสียของระบบไฮโดรโปนิกส์4.เนื่องจากมีการดัดแปลงแก้ไขและปรับปรุงในระบบเรื่อยมา ทำให้ลดข้อเสียต่างๆ ที่เคยพบในอดีตลงไปได้มาก เช่น ข้อเสียในเรื่องของเทคโนโลยีต่างประเทศที่ราคาค่อนข้างสูง ตอนนี้สามารถใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านดัดแปลงได้ ซึ่งผลผลิตที่ได้ก็ไม่ได้แตกต่างกัน5.ความหลากหลายของพืชที่ปลูกไร้ดิน ในระยะแรกจะปลูกเฉพาะผักต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้ สามารถปลูกได้ทั้งผักไทย ผักจีน และผักต่างประเทศ6.ผู้ปลูกต้องมีความรู้อย่างแท้จริงต่อการปลูกพืชไร้ดิน ซึ่งในปัจจุบันได้มีเอกสารแนะนำ และสามารถขอข้อมูลได้จากสำนักงานเกษตรในทุกพื้นที่ เรื่องของตลาด ในปัจจุบันไม่ถือเป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีต่อเกษตรกรที่สนใจทำธุรกิจการปลูกพืชไร้ดินมากขึ้นที่มาข้อมูล : http://www.panoramaworldwide.comเขียนโดย หนึ่งฤทัย มโหธร 0 ความคิดเห็น




ข้างแรม ตั้งแต่ แรม 9 ค่ำจนกระทั่ง แรม 14 ค่ำ (หรือ แรม 13 ค่ำ) และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็นที่มาข้อมูล : http://www.space.mict.go.th
เขียนโดย หนึ่งฤทัย มโหธร 0 ความคิดเห็น




การสร้างที่เก็บน้ำด้วยไม้ไผ่

การสร้างที่เก็บน้ำด้วยไม้ไผ่เครื่องสานจากไม้ไผ่ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างอย่างไรก็ตามสามารถทำ ให้เป็นภาชนะสำหรับเก็บน้ำได้ โดยการนำมาฉาบด้วย “ฟลิ้นโค้ท” ซึ่งเป็น สารผสมที่ทำมาจากยางมะตอยและสารยึดเหนี่ยวหลายชนิด เป็นของเหลว ที่แห้งเร็วมีคราบเหนียว ผสมน้ำได้ แต่เมื่อแห้งแล้วไม่ละลายน้ำ ทนน้ำและ ทนทานต่อความร้อน เย็น ไม่ละลายเมื่อถูกแดดเหมือนยางมะตอย และไม่ ผุกรอบเหมือนชัน จึงมีความทนทานและมีราคาถูก ส่วนเครื่องสานไม้ไผ่ ควรสานให้ทึบที่สุด เพื่อให้ฉาบฟลิ้นโค้ทได้ง่าย วัสดุและอุปกรณ์ 1. เครื่องสานด้วยไม้ไผ่ตามขนาดที่ต้องการ2. ฟลิ้นโค้ทชนิดผสมน้ำหาซื้อได้ตามร้านขายปุ๋ย ขายสีทาบ้าน หรือยาฆ่าแมลงหรือตามปั๊มน้ำมันเชลล์ทั่วไป 3. ผ้าฝ้ายเป็นผ้าเก่าหรือใหม่ก็ได้ หรือกระดาษสา ถ้าหาไม่ได้ก็ ใช้เศษกระดาษทั่วไปแทนก็ได้ 4. แปรงสำหรับใช้ทา หรือจะใช้มือก็ได้ ภาพตัวอย่างเครื่องสานวิธีทาฟลิ้นโค้ทบนเครื่องสานเริ่มทางด้านในก่อนตามลำดับดังนี้ 1. ใช้ฟลิ้นโค้ทผสมน้ำเล็กน้อยทาบาง ๆ ให้ทั่วเป็นชั้นแรก นำไป ผึ่งแดดให้พอหมาด 2. ใช้ฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทาจนทั่วเป็นชั้นที่สอง ผึ่งแดดแห้งพอหมาด แล้วจึงทาชั้นที่สามให้ทึบ 3. เอาผ้าฝ้ายตัดเป็นชิ้นในขนาดที่ทำสะดวก ชุบน้ำให้เปียกจนทั่ว บีบน้ำทิ้งแล้วชุบฟลิ้นโค้ท แล้วบุด้านในให้ชายผ้าทับกันให้เรียบร้อย ค่อย ๆ ทำไปทีละชิ้นจนแล้วเสร็จ ถ้าเป็นกระดาษสาไม่ต้องชุบน้ำ เมื่อบุดังนี้ เสร็จแล้วรีบทาทันทีเป็นชั้นที่สี่ แล้วตากให้แห้งพอหมาด ๆ 4. ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ทับให้ทั่วเป็นชั้นสุดท้าย ด้านนอก : ทาฟลิ้นโค้ทล้วน ๆ ให้ทั่วสักสองชั้น โดยเว้นระยะผึ่ง แดดเหมือนด้านใน ทั้งสองด้านนี้ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทุกอย่างแล้ว ให้ตากแดดทิ้งไว้สัก 1 วัน ก็นำมาใส่น้ำได้ น้ำจะไม่มีพิษหรือกลิ่นที่เป็นอันตราย ดื่มหรือใช้ได้ตามความต้องการข้อดีของที่เก็บน้ำแบบนี้คือ ราคาถูกเพราะสานได้เอง มีน้ำหนักเบา ตกไม่แตก ทนทานต่อแดดฝน กันปลวกมอดได้ดีกว่าเครื่องสานอื่น ๆ และ ซ่อมแซมง่ายเมื่อเกิดการรั่วซึมข้อควรระวังเมื่อฟลิ้นโค้ทเปื้อนเสื้อผ้า ต้องรีบขยำน้ำทันที ถ้าปล่อยให้แห้งต้อง ซักด้วยน้ำมันก๊าซ อย่าใช้ภาชนะนี้ใส่น้ำมัน เพราะฟลิ้นโค้ทแบบผสมน้ำนี้ สามารถละลายได้ในน้ำมัน ฟลิ้นโค้ทที่เหลือใช้ควรเก็บไว้ในที่ปกปิดมิดชิด ถ้าเก็บดีจะนำมาใช้ได้อีก ไม้ไผ่ที่นำมาสานต้องมีอายุแก่พอเหมาะที่จะใช้ งานได้ดี เพื่อป้องกันมอด ฝีมือสานก็ต้องดีพอ และถ้าทำขนาดใหญ่ควร มีโครงแข็งแรงเพิ่มขึ้น เมื่อยังไม่แห้งสนิท อย่าให้ถูกน้ำหรือตากฝน เพื่อนเกษตร 6(9), 2522ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/2/55/105-3.gif&imgrefurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp%3Fi1%3D55%26i2%3D26&usg=__pziOyn2SNXYVj6whiNf4ICl2Alg=&h=300&w=536&sz=19&hl=th&start=101&um=1&tbnid=PT8S2jbsTcxVxM:&tbnh=74&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D100%26um%3D1
เขียนโดย หนึ่งฤทัย มโหธร0 ความคิดเห็น






เครื่องกรองน้ำสะอาดแบบชาวบ้าน
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช โดย ศจ.นพ. ร่มไทร สุวรรณิก ได้คิดค้นเครื่องกรองน้ำเสียให้เป็นน้ำบริสุทธิ์แบบประหยัด ด้วยวิธีการ ง่าย ๆ และลงทุนในราคา 300-400 บาท
1. อุปกรณ์
ก. โอ่งหรือถัง สูงประมาณ 18 นิ้ว (อาจจะมากกว่าก็ได้) จำนวน 3 ใบ
ข. สายยางใส เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 ซม. ยาว 2 เมตร
ค. ขั้วต่อสายยาง คอยปรับระดับน้ำให้ไหลมากหรือน้อย 2 อัน สายยางและต้นขั้วต่อสายยางนั้นอาจใช้ชุดของ สายน้ำเกลือนำมาใช้ได้เลย ซึ่งสามารถขอได้ตาม โรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งมีที่ปรับเร่งให้ไหลเร็วหรือช้า ก็ได้
2. วิธีเจาะ
ก. เจาะตุ่มด้วยฆ้อนกับตะปู กว้างพอกับสายยาง
ข. โอ่งหรือถังใบที 1 เจาะ 1 รู สูงจากก้นโอ่ง 2 นิ้ว
ค. โอ่งหรือถังใบที่ 2 และ 3 เจาะ 2 รู รูล่างให้เสมอกับ โอ่ง รูบนวัดจากปากโอ่งลงมา 2-3 นิ้ว






รูปที่ 1 แสดงการเจาะตุ่มหรือโอ่ง ต่อสายยาง และการบรรจุกรวดและทราย
3. ต่อสายยาง
ก. ต่อสายยางจากรูที่ก้นโอ่งใบที่ 1 กับสายยางที่รูก้นโอ่ง ใบที่ 2 โดยใช้ขั้วต่อ
ข. ต่อสายยางจากรูที่ปากโอ่งใบที่ 2 กับสายยางที่รูก้น โอ่งใบที่ 3 โดยใช้ขั้วต่อเช่นเดียวกัน
ค. เสียบสายยางที่รูปากโอ่งใบที่ 3 และปล่อยสายยาง ทิ้งไว้4. วิธีบรรจุกรวดและทราย
ก. กรวดและทรายละเอียดที่ใช้ต้องล้างให้สะอาด
ข. วิธีบรรจุกรวดและทรายละเอียดในโอ่งใบที่ 2 และ 3 เหมือนกัน
ค. ใส่กรวดลงก่อนให้สูงพอมิดสายยาง เพื่อกันไม่ให้ ทรายเข้าไปอุดรูสายยาง
ง. แล้วใส่ทรายละเอียดลงไปให้ความสูงของทรายอยู่ใต้ รูบนประมาณ 1 นิ้ว
5. การยกระดับ ช่วยให้การไหลของน้ำดีขึ้น และป้องกันการไหล ย้อนกลับ
ก. โอ่งใบที่ 1 สูงจากระดับพื้น 20 นิ้ว
ข. โอ่งใบที่ 2 สูงจากระดับพื้น 10 นิ้ว
ค. โอ่งใบที่ 3 สูงจากระดับพื้น 3 นิ้ว

รูปที่ 2 ขั้นตอนของการกรองน้ำให้สะอาด
6. วิธีกรอง
ก. เทน้ำลงในโอ่งใบที่ 1 ใส่คลอรีนประมาณ 1 ช้อนชาและแกว่งสารส้ม (น้ำที่เทลงในโอ่งจะเป็นน้ำที่เสีย คือ สกปรกซึ่งอาจนำมาจากตามแม่น้ำลำคลอง)
ข. น้ำจะถูกกรองโดยโอ่งใบที่ 2 ผ่านกรวดและทรายเอ่อ ขึ้นสวนทางกับแรงดึงดูดของโลก และไหลออกทาง สายยางที่ปากโอ่งใบที่ 2 ไปยังก้นโอ่งใบที่ 3
ค. น้ำจะถูกกรองจากโอ่งใบที่ 3 เช่นเดียวกับโอ่งใบที่ 2
ง. น้ำที่ออกจากโอ่งใบที่ 3 เราดื่มได้เลย จำนวนน้ำที่ได้ ประมาณ 60-70 ลิตรต่อวัน
7. วิธีล้างโอ่งกรอง
ถอดสายยางตรงขั้วต่อออก ปล่อยน้ำจากก้นโอ่งกรองที่ 2 และ 3 ออกจนหมดน้ำขุ่นเท่านั้น
ด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่นนี้ เราก็สามารถได้น้ำที่สะอาด น้ำที่ ผ่านขั้นตอนเหล่านี้มาแล้วสามารถนำไปดื่มได้ทันที
นอกจากจะช่วยให้ประโยชน์แก่ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม แล้ว เครื่องกรองน้ำแบบง่าย ๆ นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีสำหรับผู้ที่ บ้านอยู่ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่าใช้มากที่สุด คือผู้ที่อาศัยตามหมู่บ้านที่สูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ หรือถ้าอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม อย่างใกล้ชิด เช่น หมู่บ้านจัดสรร หรือหมู่บ้านที่มีโครงสร้างสนิทสนมกัน มากตามแบบไทย ๆ ก็อาจดัดแปลงร่วมใจกันสร้างเครื่องกรองน้ำสำหรับ ชุมชนขนาดย่อมได้ โดยช่วยกันสละเงินคนละเล็กคนละน้อย แล้วช่วยกันดู แลรักษา ตัวอย่างที่ทำกันมาแล้วเช่น เช่นที่อำเภอหัวไผ่ จังหวัดอ่างทอง และ ที่โรงเรียนสลัมคลองเตย ซึ่งปรากฏว่า มีน้ำสะอาดบริโภคกันอย่างทั่วถึง
โครงการเกลือคุณภาพ น้ำปลาคุณภาพ น้ำดื่มสะอาด ศิริราช 21
















ที่มา http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/2/55/105-3.gif&imgrefurl=http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp%3Fi1%3D55%26i2%3D26&usg=__pziOyn2SNXYVj6whiNf4ICl2Alg=&h=300&w=536&sz=19&hl=th&start=101&um=1&tbnid=PT8S2jbsTcxVxM:&tbnh=74&tbnw=132&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26ndsp%3D20%26hl%3Dth%26sa%3DN%26start%3D100%26um%3D1
เขียนโดย หนึ่งฤทัย มโหธร
0 ความคิดเห็น
บทความที่เก่ากว่า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552








นายกฯชวนคนไทยร่วมกิจกรรม 9 ในดวงใจ 9 ก.ย.นี้6/9/2552นายกรัฐมนตรี เชิญชวนคนไทยร่วมกิจกรรม 9 ในดวงใจ เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 9 เดือน 9 ปี 09 เวลา 9.09 นาทีในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์วันนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สวมเสื้อยืดคอปก ปักหน้าอก 9 ในดวงใจ เพื่อรณรงค์ในโครงการนี้ โดยขอให้ประชาชนและทุกหน่วยงานร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีในวันพุธที่ 9 กันยายนนี้ เวลา 9 นาฬิกา 9 นาที ซึ่งถือเป็นเลขมงคล 9/09/09/ 9.09 น.
ที่มาhttp://www.krobkruakao.com/kkn/?a=news&s=detail&news_id=8177













































วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552




ปฏิทินวิชาการโรงเรียนเมืองเชลียง เดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม 2552
ปฏิทินวิชาการโรงเรียนเมืองเชลียง เดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม 2552
14-15 กุมภาพันธ์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าค่ายคณิตศาสตร์ จำนวน 150 คน 16 กุมภาพันธ์ เวลา 13.00-15.40 น. กิจกรรมอำลาพี่มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 255120 กุมภาพันธ์ วันสุดท้ายของการส่งข้อสอบปลายภาคเรียน21-22 กุมภาพันธ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบ o-net ที่ ร.ร.สวรรค์อนันต์วิทยา26 กุมภาพันธ์ สอบประเมินคุณภาพนักเรียน ม.2 เวลา 08.30-12.00 น.2-5 กุมภาพันธ์ สอบปลายภาคเรียนทุกระดับชั้น7-8 กุมภาพันธ์ สอบ GAT/PAT ณ โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม11 มีนาคม วันสุดท้ายของการส่งผลการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 14-18 มีนาคม รับสมัคร ม.1 และ ม.4 ประจำปีการศึกษา 2552 21 มีนาคม สอบคัดเลือกมัธยมศึกษาปีที่ 122 มีนาคม สอบคัดเลือกมัธยมศึกษาปีที่ 423 มีนาคม ประกาศผลภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 255123-27 มีนาคม ปรับปรุงผลการเรียนทุกระดับชั้น แก้ 0 ร มส ขส24 มีนาคม ประกาศผลและรายงานตัวมัธยมศึกษาปีที่ 1 25 มีนาคม ประกาศผลและรายงานตัวมัธยมศึกษาปีที่ 429 มีนาคม รายงาน ม.4 31 มีนาคม ปัจฉิมนิเทศ มอบ ปพ.1 และใบประกาศ ม.3 และ ม.64 เมษายน มอบตัว ม.15 เมษายน มอบตัว ม.411-14 พฤษภาคม จำหนายสมุด-แบบเรียน-อุปกรณ์การเรียน และครูปฏิบัติหน้าที่วันแรก13 พฤษภาคม ปรับสภาพนักเรียนใหม่15 พฤษภาคม นักเรียนทุกระดับชั้นพบครูที่ปรึกษา รับตารางสอนภาคเรียนที่ 1/2552 18 พฤษภาคม เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
ที่มา
http://school.obec.go.th/mclschool/
เขียนโดย หนึ่งฤทัย มโหธร 0 ความคิดเห็น

ไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโปนิกส์กว่า 150 ปีมาแล้ว ที่มนุษย์เรารู้จักการปลูกพืชแบบไม่อาศัยดินโดยในเริ่มแรกนั้น มีจุดประสงค์เพียงเพื่อต้องการศึกษาว่า แร่ธาตุชนิดใดบ้าง ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จนเมื่อปี ค.ศ.1925 ประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ต่างเริ่มหาทางเลือกใหม่สำหรับการปลูกพืชในโรงเรือน เพราะการเพาะปลูกแบบอาศัยดินนั้น สร้างปัญหาให้มากกมาย นอกจากนี้ในวงการวิจัยเองก็มีการตื่นตัวทำการทดลองเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเพื่อเป็นการค้าขึ้น มากระทั่งปี ค.ศ.1930 คำว่า "ไฮโดรโปนิกส์" เริ่มเป็นที่รู้จักขึ้นโดย ดร.เจอร์ริค แห่งมหาวิทยาลัยมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ได้ทำการทดลองปลูกพืชโดยใช้เทคนิควิธีการปลูกพืชในน้ำสารละลายอาหารเป็นผลสำเร็จ และนับจากนั้น การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชแบบไม่ใช้วัสดุปลูก (nonsubstrate หรือ water cuture) ซึ่งเป็นลักษณะของการปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากสัมผัสกับสารอาหารโดยตรงนั่นเองโดยสามารถแบ่งวิธีการปลูกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
NFT (Nutrient Film Technique) เป็นวิธีการให้สารละลายธาตุอาหาร มีการไหลหมุนเวียน โดยรากพืชจะได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ ด้วยหลักการทำงานง่ายๆ คือ ให้สารอาหารไหลผ่านรากพืช เป็นลักษณะสายน้ำบางๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับรากพืชโดยตรง ระบบน้ำจะหมุนเวียนกลับมาใช้งานได้ต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมในประเทศไทยในขณะนี้ DRF (Dynamic Root Floating Technique) เป็นระบบการให้สารอาหารแก่รากพืชโดยตรง นอกจากนี้ ยังมีการเติมอากาศด้วยการใช้ปั๊มลม ช่วยในการให้ออกซิเจน โดยรากพืชจะจุ่มอยู่ในสารอาหารโดยตรงและสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า "การปลูกพืชแบบลอยน้ำ" วิธีนี้เป็นที่นิยมเพราะใช้พื้นที่เล็ก ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถใช้เวลาว่างปลูกเป็นงานอดิเรกDFT (Deep Flow Technique) เป็นระบบปลูกที่ให้สารละลายธาตุอาหาร ไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่องและหมุนเวียน เหมือนการปลูกพืชแช่น้ำ ซึ่งระดับน้ำจะไม่สูงนักราว 5-10 ซม. โดยน้ำจะไหลผ่านรากพืชอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ
ข้อดีของระบบไฮโดรโปนิกส์
1.สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้สูงขึ้นกว่าแบบเก่า 50-100% และยังสามารถออกแบบให้ประหยัดพื้นที่การปลูกได้ด้วย2.ดูแลได้ทั่วถึง เนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายต่อการควบคุมและป้องกันโรคและแมลง ไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง 100% และไม่มีปัญหาในการกำจัดวัชพืชในพื้นที่ปลูก ประหยัดน้ำและปุ๋ย เพราะสามารถควบคุมได้ตามที่พืชต้องการ ไม้ต้องไถพรวน3.สามารถลดการทำลายหรือชะล้างหน้าดิน มีผลผลิตสม่ำเสมอ และอายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น เนื่องจากพืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างสม่ำเสมอ ผลผลิตที่ได้มีความสะอาด สด คุณภาพดี และที่สำคัญคือ ปลอดสารพิษ สามารถพัฒนาการปลูกไปในเชิงพาณิชย์ได้
ข้อเสียของระบบไฮโดรโปนิกส์4.เนื่องจากมีการดัดแปลงแก้ไขและปรับปรุงในระบบเรื่อยมา ทำให้ลดข้อเสียต่างๆ ที่เคยพบในอดีตลงไปได้มาก เช่น ข้อเสียในเรื่องของเทคโนโลยีต่างประเทศที่ราคาค่อนข้างสูง ตอนนี้สามารถใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านดัดแปลงได้ ซึ่งผลผลิตที่ได้ก็ไม่ได้แตกต่างกัน5.ความหลากหลายของพืชที่ปลูกไร้ดิน ในระยะแรกจะปลูกเฉพาะผักต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้ สามารถปลูกได้ทั้งผักไทย ผักจีน และผักต่างประเทศ6.ผู้ปลูกต้องมีความรู้อย่างแท้จริงต่อการปลูกพืชไร้ดิน ซึ่งในปัจจุบันได้มีเอกสารแนะนำ และสามารถขอข้อมูลได้จากสำนักงานเกษตรในทุกพื้นที่ เรื่องของตลาด ในปัจจุบันไม่ถือเป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีต่อเกษตรกรที่สนใจทำธุรกิจการปลูกพืชไร้ดินมากขึ้น
ที่มาข้อมูล : http://www.panoramaworldwide.com
เขียนโดย หนึ่งฤทัย มโหธร
0 ความคิดเห็น

ปรากฏการณ์ ข้างขึ้น - ข้างแรม
ปรากฏการณ์ ข้างขึ้น - ข้างแรม
หลายท่านอาจเคยสงสัยว่าดวงจันทร์ที่เราเห็นอยู่ทุกๆ ค่ำคืนนั้น (หรือบางวันอาจมองไม่เห็น) ทำไมจึงมีรูปร่างที่ต่างกันออกไป บางวันก็เป็นดวงจันทร์เต็มดวง บางวันก็เป็นดวงจันทร์เสี้ยวเสี้ยวด้านซ้ายบ้าง เสี้ยวด้านขวาบ้าง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?การที่เราเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างต่างกันออกไปในแต่ละวันนั้น เราเรียกว่า ดิถี หรือ เฟส หรือ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม ของดวงจันทร์ (lunar phase) เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกทำมุมระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ที่ต่างกันออกไป ทำให้เรา (ที่อยู่บนโลก) สังเกตเห็นดวงจันทร์มีส่วนที่สว่างที่ไม่เท่ากันในแต่ละคืน โดยที่คาบเวลาของการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์เป็น 29.5 วัน เราจึงเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างเหมือนเดิมทุกๆ 29.5 วันนั่นเอง เช่นเราจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวง (หรือจันทร์วันเพ็ญ) ทุกๆ 29.5 วัน (หรือคิดง่ายๆ คือ ประมาณ 30 วัน)
เราแบ่งดิถีของดวงจันทร์ตามที่เรามองเห็นได้ดังนี้เดือนมืด (New Moon) ตรงกับ แรม 15 ค่ำ (บางเดือนอาจเป็น แรม 14 ค่ำ) เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์อยู่หน้าดวงอาทิตย์นั่นเอง ในวันนี้ดวงจันทร์จะหันด้านมืดเข้าหาโลก ดังนั้น เราจะมองไม่เห็นดวงจันทร์ เราจึงเรียกว่า คืนเดือนมืด หรือ จันทร์ดับ ในความเป็นจริงในวันเดือนมืดตำแหน่งของดวงจันทร์จะอยู่กลางศีรษะเราพอดีในเวลาประมาณเที่ยงวัน แต่เราจะไม่เห็นดวงจันทร์ เนื่องจากดวงจันทร์หันด้านมืดเข้าหาโลกและแสงจากดวงอาทิตย์มีความสว่างมาก
คืนเดือนมืด ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็น
วันเพ็ญ (Full Moon) ตรงกับ ขึ้น 15 ค่ำ เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยแสงจากดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับดวงจันทร์พอดี ในวันนี้ดวงจันทร์จะหันด้านสว่างเข้าหาโลกดังนั้นเราจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง โดยเห็นดวงจันทร์ปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกตั้งแต่เวลาประมาณ 6 โมงเย็น และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกตอน 6 โมงเช้า ของอีกวันหนึ่ง โดยดวงจันทร์จะอยู่กลางศีรษะพอดีที่เวลาเที่ยงคืน
คืนวันเพ็ญ ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็น
ข้างขึ้น (Waxing) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนเดือนมืดจนถึงคืนวันเพ็ญ โดยมีด้านเสี้ยวสว่างของดวงจันทร์หันไปด้านทิศตะวันตก ซึ่งแบ่งออกเป็นสามช่วงดังนี้
ช่วง 1-7 วันหลังจากคืนเดือนมืด หรือตั้งแต่ ขึ้น 1 ค่ำจนกระทั่ง ขึ้น 7 ค่ำ เราจะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวสว่างตั้งแต่เสี้ยวบางๆ ในขึ้น 1 ค่ำ จนกระทั่งสว่างประมาณครึ่งดวงใน ขึ้น 7 ค่ำ ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเรียกช่วงนี้ว่า Waxing Crescent ในช่วงนี้เราจะเห็นดวงจันทร์ตกที่ขอบฟ้าตะวันตกในช่วงหัวค่ำ (6 โมงเย็น ถึงเที่ยงคืน) ข้างขึ้นตั้งแต่ ขึ้น 1 ค่ำจนกระทั่ง ขึ้น 7 ค่ำ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็นในวันที่ 8 เราจะเห็นดวงจันทร์ครึ่งดวงเป็นครั้งแรก หรือตรงกับวัน ขึ้น 8 ค่ำ ภาษาอังกฤษเรียกวันนี้ว่า First Quater เป็นวันที่ดวงจันทร์ทำมุมกับโลกและดวงอาทิตย์ 90 องศา โดยดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกที่เวลาเที่ยงวัน และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกที่เวลาประมาณเที่ยงคืน
ข้างขึ้น ขึ้น 8 ค่ำ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็น
ช่วงวันที่ 9-14 หรือตั้งแต่ ขึ้น 9 ค่ำ จนกระทั่ง ขึ้น 14 ค่ำ เราจะเห็นดวงจันทร์ด้านสว่างที่ค่อนข้างใหญ่คือ มากกว่าครึ่งหนึ่งไปจนถึงเกือบเต็มดวง (ในวัน ขึ้น 14 ค่ำ) ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเรียกช่วงนี้ว่า Waxing Gibbous ในช่วงนี้ดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกที่หลังเวลาเที่ยงวัน และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกหลังเวลาเที่ยงคืน
ข้างขึ้นตั้งแต่ ขึ้น 9 ค่ำจนกระทั่ง ขึ้น 14 ค่ำ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็น
ข้างแรม (Waning) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนวันเพ็ญจนถึงคืนเดือนมืด โดยมีด้านเสี้ยวสว่างของดวงจันทร์หันไปด้านทิศตะวันออก ซึ่งแบ่งออกเป็นสามช่วงเช่นเดียวกันกับข้างขึ้นดังนี้ช่วง 1-7 วันหลังจากคืนวันเพ็ญ หรือตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ จนกระทั่ง แรม 7 ค่ำ เราจะเห็นดวงจันทร์ด้านสว่างที่ค่อนข้างใหญ่คือตั้งแต่เกือบเต็ม (แรม 1 ค่ำ) จนไปถึงครึ่งดวง (แรม 7 ค่ำ) ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเรียกช่วงนี้ว่า Waning Gibbous ในช่วงนี้ดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกที่หลังเวลา 6 โมงเย็น และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกหลังเวลา 6 โมงเช้า
ข้างแรมตั้งแต่ แรม 1 ค่ำจนกระทั่ง แรม 7 ค่ำ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็นในวันที่ 8 เราจะเห็นดวงจันทร์ครึ่งดวงเป็นครั้งที่สอง หรือตรงกับวัน แรม 8 ค่ำ ภาษาอังกฤษเรียกวันนี้ว่า Last Quater เป็นวันที่ดวงจันทร์ทำมุมกับโลกและดวงอาทิตย์ 90 องศา โดยดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกที่เวลาเที่ยงคืน และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกที่เวลาประมาณเที่ยงวัน โดยมีด้านมืดและด้านสว่างของดวงจันทร์ในคืน แรม 8 ค่ำ นี้ จะอยู่สลับกันกับคืนวัน ขึ้น 8 ค่ำ
ข้างแรม แรม 8 ค่ำ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็นช่วงวันที่ 9-14 (หรือ 9-13) หรือตั้งแต่ แรม 9 ค่ำ จนกระทั่ง แรม 14 ค่ำ (หรือ แรม 13 ค่ำ) เราจะเห็นดวงจันทร์ด้านสว่างน้อยกว่าครึ่งดวง ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเรียกช่วงนี้ว่า Waning Crescent ในช่วงนี้ดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกที่หลังเวลาเที่ยงคืน และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกหลังเวลาเที่ยงวัน
ข้างแรม ตั้งแต่ แรม 9 ค่ำจนกระทั่ง แรม 14 ค่ำ (หรือ แรม 13 ค่ำ) และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็นที่มาข้อมูล : http://www.space.mict.go.th

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552


การจำแนกสารรอบตัว1. ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ2. ถ้าใช้สารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดได้ 2 กลุ่มคือ สารเนื้อเดียวสารเนื้อ และประสม2.1 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารชนิดเดียวหรือสาร 2 ชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนกัน2.2 สารเนื้อผสม หมายถึง สารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันแต่เนื้อสารไม่กลมกลืนกันสารละลายสารละลาย หมายถึง สารที่ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน แล้วเกิดละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สารละลาย มี 3 ชนิดคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซสารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายมากสารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายน้อยสารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวถูกละลายได้อีกสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่ในปริมาณที่เกินกว่าอัตราที่ละลาย ได้ที่อุณหภูมิห้องสารบริสุทธิ์สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติเหมือนกันตลอด สารที่ใช้ในบ้าน1.สารที่เป็นกรด หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่ไม่เปลี่ยน สีกระดาษลิตมัสสีแดง2.สารที่เป็นเบส หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษ ลิตมัสสีน้ำเงิน3.สารที่เป็นกลาง หมายถึง สารที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สีที่มาhttp://www.geocities.com/sci123th/m3.html
เขียนโดย หนึ่งฤทัย มโหธร 0 ความคิดเห็น

ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.corrosionsource.com/handbook/periodic/periodic_table.gif&imgrefurl=http://blog.hunsa.com/piyanunthancha/cat/14801&h=480&w=580&sz=19&tbnid=G4wY8RtD2Q3AMM:&tbnh=111&tbnw=134&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8&hl=th&usg=___JmxKLQmszAiPp10-mNzkXgAQxI=&ei=z0acSoiAEYuNkAWjzcG3Dw&sa=X&oi=image_result&resnum=6&ct=imageจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีดมีตรี เมนเดเลเยฟ บิดาแห่งตารางธาตุตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412[1] จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมาที่มาth.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุ
เขียนโดย ด.ญ.หนึ่งฤทัย มโหธร0 ความคิดเห็น
ด.ญ.หนึ่งฤทัย มโหธร
ดิฉันได้จัดทำเว็บบล็อคแห่งนี้ขึ้นเพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดูหนังสือเตรียมตัวสอบ การสร้างแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การนำข้อมูลจัดทำ Microsoft PowerPoint การจัดทำงานแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รูปแบบ e-book เพื่อให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากการเรียนรู้ในห้องเรียน ขอขอบพระคุณเว็บไซต์BLOGSPOT.COM ที่ให้พื้นที่ในการจัดทำเว็บไซต์ฟรีทุกอย่าง ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูลความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆที่นำมาลงเป็นบทความครับ ประโยชน์จากการเรียนรู้นี้ขอมอบให้ผู้อ่านทุกคน ขอเชิญติ ชม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือข้อเสนอแนะได้ที่เว็บบอร์ดครับ bolovelove1@gmail.com tel 0845068918