วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552




ปฏิทินวิชาการโรงเรียนเมืองเชลียง เดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม 2552
ปฏิทินวิชาการโรงเรียนเมืองเชลียง เดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน-พฤษภาคม 2552
14-15 กุมภาพันธ์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าค่ายคณิตศาสตร์ จำนวน 150 คน 16 กุมภาพันธ์ เวลา 13.00-15.40 น. กิจกรรมอำลาพี่มัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 255120 กุมภาพันธ์ วันสุดท้ายของการส่งข้อสอบปลายภาคเรียน21-22 กุมภาพันธ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สอบ o-net ที่ ร.ร.สวรรค์อนันต์วิทยา26 กุมภาพันธ์ สอบประเมินคุณภาพนักเรียน ม.2 เวลา 08.30-12.00 น.2-5 กุมภาพันธ์ สอบปลายภาคเรียนทุกระดับชั้น7-8 กุมภาพันธ์ สอบ GAT/PAT ณ โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม11 มีนาคม วันสุดท้ายของการส่งผลการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 14-18 มีนาคม รับสมัคร ม.1 และ ม.4 ประจำปีการศึกษา 2552 21 มีนาคม สอบคัดเลือกมัธยมศึกษาปีที่ 122 มีนาคม สอบคัดเลือกมัธยมศึกษาปีที่ 423 มีนาคม ประกาศผลภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 255123-27 มีนาคม ปรับปรุงผลการเรียนทุกระดับชั้น แก้ 0 ร มส ขส24 มีนาคม ประกาศผลและรายงานตัวมัธยมศึกษาปีที่ 1 25 มีนาคม ประกาศผลและรายงานตัวมัธยมศึกษาปีที่ 429 มีนาคม รายงาน ม.4 31 มีนาคม ปัจฉิมนิเทศ มอบ ปพ.1 และใบประกาศ ม.3 และ ม.64 เมษายน มอบตัว ม.15 เมษายน มอบตัว ม.411-14 พฤษภาคม จำหนายสมุด-แบบเรียน-อุปกรณ์การเรียน และครูปฏิบัติหน้าที่วันแรก13 พฤษภาคม ปรับสภาพนักเรียนใหม่15 พฤษภาคม นักเรียนทุกระดับชั้นพบครูที่ปรึกษา รับตารางสอนภาคเรียนที่ 1/2552 18 พฤษภาคม เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
ที่มา
http://school.obec.go.th/mclschool/
เขียนโดย หนึ่งฤทัย มโหธร 0 ความคิดเห็น

ไฮโดรโปนิกส์
ไฮโดรโปนิกส์กว่า 150 ปีมาแล้ว ที่มนุษย์เรารู้จักการปลูกพืชแบบไม่อาศัยดินโดยในเริ่มแรกนั้น มีจุดประสงค์เพียงเพื่อต้องการศึกษาว่า แร่ธาตุชนิดใดบ้าง ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จนเมื่อปี ค.ศ.1925 ประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ต่างเริ่มหาทางเลือกใหม่สำหรับการปลูกพืชในโรงเรือน เพราะการเพาะปลูกแบบอาศัยดินนั้น สร้างปัญหาให้มากกมาย นอกจากนี้ในวงการวิจัยเองก็มีการตื่นตัวทำการทดลองเกี่ยวกับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเพื่อเป็นการค้าขึ้น มากระทั่งปี ค.ศ.1930 คำว่า "ไฮโดรโปนิกส์" เริ่มเป็นที่รู้จักขึ้นโดย ดร.เจอร์ริค แห่งมหาวิทยาลัยมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ได้ทำการทดลองปลูกพืชโดยใช้เทคนิควิธีการปลูกพืชในน้ำสารละลายอาหารเป็นผลสำเร็จ และนับจากนั้น การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน ไฮโดรโปนิกส์ เป็นการปลูกพืชแบบไม่ใช้วัสดุปลูก (nonsubstrate หรือ water cuture) ซึ่งเป็นลักษณะของการปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากสัมผัสกับสารอาหารโดยตรงนั่นเองโดยสามารถแบ่งวิธีการปลูกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
NFT (Nutrient Film Technique) เป็นวิธีการให้สารละลายธาตุอาหาร มีการไหลหมุนเวียน โดยรากพืชจะได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ ด้วยหลักการทำงานง่ายๆ คือ ให้สารอาหารไหลผ่านรากพืช เป็นลักษณะสายน้ำบางๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กับรากพืชโดยตรง ระบบน้ำจะหมุนเวียนกลับมาใช้งานได้ต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมในประเทศไทยในขณะนี้ DRF (Dynamic Root Floating Technique) เป็นระบบการให้สารอาหารแก่รากพืชโดยตรง นอกจากนี้ ยังมีการเติมอากาศด้วยการใช้ปั๊มลม ช่วยในการให้ออกซิเจน โดยรากพืชจะจุ่มอยู่ในสารอาหารโดยตรงและสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า "การปลูกพืชแบบลอยน้ำ" วิธีนี้เป็นที่นิยมเพราะใช้พื้นที่เล็ก ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถใช้เวลาว่างปลูกเป็นงานอดิเรกDFT (Deep Flow Technique) เป็นระบบปลูกที่ให้สารละลายธาตุอาหาร ไหลผ่านรากพืชอย่างต่อเนื่องและหมุนเวียน เหมือนการปลูกพืชแช่น้ำ ซึ่งระดับน้ำจะไม่สูงนักราว 5-10 ซม. โดยน้ำจะไหลผ่านรากพืชอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ
ข้อดีของระบบไฮโดรโปนิกส์
1.สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้สูงขึ้นกว่าแบบเก่า 50-100% และยังสามารถออกแบบให้ประหยัดพื้นที่การปลูกได้ด้วย2.ดูแลได้ทั่วถึง เนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายต่อการควบคุมและป้องกันโรคและแมลง ไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง 100% และไม่มีปัญหาในการกำจัดวัชพืชในพื้นที่ปลูก ประหยัดน้ำและปุ๋ย เพราะสามารถควบคุมได้ตามที่พืชต้องการ ไม้ต้องไถพรวน3.สามารถลดการทำลายหรือชะล้างหน้าดิน มีผลผลิตสม่ำเสมอ และอายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น เนื่องจากพืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างสม่ำเสมอ ผลผลิตที่ได้มีความสะอาด สด คุณภาพดี และที่สำคัญคือ ปลอดสารพิษ สามารถพัฒนาการปลูกไปในเชิงพาณิชย์ได้
ข้อเสียของระบบไฮโดรโปนิกส์4.เนื่องจากมีการดัดแปลงแก้ไขและปรับปรุงในระบบเรื่อยมา ทำให้ลดข้อเสียต่างๆ ที่เคยพบในอดีตลงไปได้มาก เช่น ข้อเสียในเรื่องของเทคโนโลยีต่างประเทศที่ราคาค่อนข้างสูง ตอนนี้สามารถใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านดัดแปลงได้ ซึ่งผลผลิตที่ได้ก็ไม่ได้แตกต่างกัน5.ความหลากหลายของพืชที่ปลูกไร้ดิน ในระยะแรกจะปลูกเฉพาะผักต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้ สามารถปลูกได้ทั้งผักไทย ผักจีน และผักต่างประเทศ6.ผู้ปลูกต้องมีความรู้อย่างแท้จริงต่อการปลูกพืชไร้ดิน ซึ่งในปัจจุบันได้มีเอกสารแนะนำ และสามารถขอข้อมูลได้จากสำนักงานเกษตรในทุกพื้นที่ เรื่องของตลาด ในปัจจุบันไม่ถือเป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีต่อเกษตรกรที่สนใจทำธุรกิจการปลูกพืชไร้ดินมากขึ้น
ที่มาข้อมูล : http://www.panoramaworldwide.com
เขียนโดย หนึ่งฤทัย มโหธร
0 ความคิดเห็น

ปรากฏการณ์ ข้างขึ้น - ข้างแรม
ปรากฏการณ์ ข้างขึ้น - ข้างแรม
หลายท่านอาจเคยสงสัยว่าดวงจันทร์ที่เราเห็นอยู่ทุกๆ ค่ำคืนนั้น (หรือบางวันอาจมองไม่เห็น) ทำไมจึงมีรูปร่างที่ต่างกันออกไป บางวันก็เป็นดวงจันทร์เต็มดวง บางวันก็เป็นดวงจันทร์เสี้ยวเสี้ยวด้านซ้ายบ้าง เสี้ยวด้านขวาบ้าง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?การที่เราเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างต่างกันออกไปในแต่ละวันนั้น เราเรียกว่า ดิถี หรือ เฟส หรือ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม ของดวงจันทร์ (lunar phase) เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกทำมุมระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ที่ต่างกันออกไป ทำให้เรา (ที่อยู่บนโลก) สังเกตเห็นดวงจันทร์มีส่วนที่สว่างที่ไม่เท่ากันในแต่ละคืน โดยที่คาบเวลาของการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์เป็น 29.5 วัน เราจึงเห็นดวงจันทร์มีรูปร่างเหมือนเดิมทุกๆ 29.5 วันนั่นเอง เช่นเราจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวง (หรือจันทร์วันเพ็ญ) ทุกๆ 29.5 วัน (หรือคิดง่ายๆ คือ ประมาณ 30 วัน)
เราแบ่งดิถีของดวงจันทร์ตามที่เรามองเห็นได้ดังนี้เดือนมืด (New Moon) ตรงกับ แรม 15 ค่ำ (บางเดือนอาจเป็น แรม 14 ค่ำ) เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์อยู่หน้าดวงอาทิตย์นั่นเอง ในวันนี้ดวงจันทร์จะหันด้านมืดเข้าหาโลก ดังนั้น เราจะมองไม่เห็นดวงจันทร์ เราจึงเรียกว่า คืนเดือนมืด หรือ จันทร์ดับ ในความเป็นจริงในวันเดือนมืดตำแหน่งของดวงจันทร์จะอยู่กลางศีรษะเราพอดีในเวลาประมาณเที่ยงวัน แต่เราจะไม่เห็นดวงจันทร์ เนื่องจากดวงจันทร์หันด้านมืดเข้าหาโลกและแสงจากดวงอาทิตย์มีความสว่างมาก
คืนเดือนมืด ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็น
วันเพ็ญ (Full Moon) ตรงกับ ขึ้น 15 ค่ำ เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ โดยแสงจากดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับดวงจันทร์พอดี ในวันนี้ดวงจันทร์จะหันด้านสว่างเข้าหาโลกดังนั้นเราจะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง โดยเห็นดวงจันทร์ปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกตั้งแต่เวลาประมาณ 6 โมงเย็น และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกตอน 6 โมงเช้า ของอีกวันหนึ่ง โดยดวงจันทร์จะอยู่กลางศีรษะพอดีที่เวลาเที่ยงคืน
คืนวันเพ็ญ ดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็น
ข้างขึ้น (Waxing) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนเดือนมืดจนถึงคืนวันเพ็ญ โดยมีด้านเสี้ยวสว่างของดวงจันทร์หันไปด้านทิศตะวันตก ซึ่งแบ่งออกเป็นสามช่วงดังนี้
ช่วง 1-7 วันหลังจากคืนเดือนมืด หรือตั้งแต่ ขึ้น 1 ค่ำจนกระทั่ง ขึ้น 7 ค่ำ เราจะเห็นดวงจันทร์เป็นเสี้ยวสว่างตั้งแต่เสี้ยวบางๆ ในขึ้น 1 ค่ำ จนกระทั่งสว่างประมาณครึ่งดวงใน ขึ้น 7 ค่ำ ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเรียกช่วงนี้ว่า Waxing Crescent ในช่วงนี้เราจะเห็นดวงจันทร์ตกที่ขอบฟ้าตะวันตกในช่วงหัวค่ำ (6 โมงเย็น ถึงเที่ยงคืน) ข้างขึ้นตั้งแต่ ขึ้น 1 ค่ำจนกระทั่ง ขึ้น 7 ค่ำ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็นในวันที่ 8 เราจะเห็นดวงจันทร์ครึ่งดวงเป็นครั้งแรก หรือตรงกับวัน ขึ้น 8 ค่ำ ภาษาอังกฤษเรียกวันนี้ว่า First Quater เป็นวันที่ดวงจันทร์ทำมุมกับโลกและดวงอาทิตย์ 90 องศา โดยดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกที่เวลาเที่ยงวัน และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกที่เวลาประมาณเที่ยงคืน
ข้างขึ้น ขึ้น 8 ค่ำ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็น
ช่วงวันที่ 9-14 หรือตั้งแต่ ขึ้น 9 ค่ำ จนกระทั่ง ขึ้น 14 ค่ำ เราจะเห็นดวงจันทร์ด้านสว่างที่ค่อนข้างใหญ่คือ มากกว่าครึ่งหนึ่งไปจนถึงเกือบเต็มดวง (ในวัน ขึ้น 14 ค่ำ) ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเรียกช่วงนี้ว่า Waxing Gibbous ในช่วงนี้ดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกที่หลังเวลาเที่ยงวัน และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกหลังเวลาเที่ยงคืน
ข้างขึ้นตั้งแต่ ขึ้น 9 ค่ำจนกระทั่ง ขึ้น 14 ค่ำ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็น
ข้างแรม (Waning) เป็นช่วงที่เกิดขึ้นระหว่างคืนวันเพ็ญจนถึงคืนเดือนมืด โดยมีด้านเสี้ยวสว่างของดวงจันทร์หันไปด้านทิศตะวันออก ซึ่งแบ่งออกเป็นสามช่วงเช่นเดียวกันกับข้างขึ้นดังนี้ช่วง 1-7 วันหลังจากคืนวันเพ็ญ หรือตั้งแต่ แรม 1 ค่ำ จนกระทั่ง แรม 7 ค่ำ เราจะเห็นดวงจันทร์ด้านสว่างที่ค่อนข้างใหญ่คือตั้งแต่เกือบเต็ม (แรม 1 ค่ำ) จนไปถึงครึ่งดวง (แรม 7 ค่ำ) ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเรียกช่วงนี้ว่า Waning Gibbous ในช่วงนี้ดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกที่หลังเวลา 6 โมงเย็น และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกหลังเวลา 6 โมงเช้า
ข้างแรมตั้งแต่ แรม 1 ค่ำจนกระทั่ง แรม 7 ค่ำ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็นในวันที่ 8 เราจะเห็นดวงจันทร์ครึ่งดวงเป็นครั้งที่สอง หรือตรงกับวัน แรม 8 ค่ำ ภาษาอังกฤษเรียกวันนี้ว่า Last Quater เป็นวันที่ดวงจันทร์ทำมุมกับโลกและดวงอาทิตย์ 90 องศา โดยดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกที่เวลาเที่ยงคืน และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกที่เวลาประมาณเที่ยงวัน โดยมีด้านมืดและด้านสว่างของดวงจันทร์ในคืน แรม 8 ค่ำ นี้ จะอยู่สลับกันกับคืนวัน ขึ้น 8 ค่ำ
ข้างแรม แรม 8 ค่ำ และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็นช่วงวันที่ 9-14 (หรือ 9-13) หรือตั้งแต่ แรม 9 ค่ำ จนกระทั่ง แรม 14 ค่ำ (หรือ แรม 13 ค่ำ) เราจะเห็นดวงจันทร์ด้านสว่างน้อยกว่าครึ่งดวง ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเรียกช่วงนี้ว่า Waning Crescent ในช่วงนี้ดวงจันทร์จะเริ่มปรากฏที่ขอบฟ้าตะวันออกที่หลังเวลาเที่ยงคืน และตกที่ขอบฟ้าตะวันตกหลังเวลาเที่ยงวัน
ข้างแรม ตั้งแต่ แรม 9 ค่ำจนกระทั่ง แรม 14 ค่ำ (หรือ แรม 13 ค่ำ) และภาพดวงจันทร์ที่มองเห็นที่มาข้อมูล : http://www.space.mict.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น